ในยุคของการกวาดล้างอาหารเสริมผิดกฎหมาย ฆอ. จำเป็นมากแค่ไหน?

ฆอ.

ในยุคของการกวาดล้าง อาหารเสริมผิดกฎหมาย ฆอ. จำเป็นมากแค่ไหน?

โดนกันไปหลายรายแล้วครับ เพราะว่าตอนนี้ อย. เขาเอาจริง จับจริง สำหรับแบรนด์ อาหารเสริมและเครื่องสำอางชื่อดัง
ที่โดนทีต้องสะดุ้งกันทั้งวงการ ถ้าไม่มี(ฆอ.) ทั้งเรื่องของการโฆษณาที่เกินจริง และเรื่องของการใส่ส่วนผสมที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
งานนี้ทั้ง อย. และ สคบ. โดนคำสั่งมาให้คุมเข้มผลิตภัณฑ์อาหารเสริมมากยิ่งขึ้น  เตรียมกวาดล้างผลิตภัณฑ์อาหารเสริม
และเครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐานกันอย่างจริงจัง แล้วผู้ประกอบการอย่างเราจะทำอะไรได้บ้าง?

ไม่เสี่ยงคุกแน่ แค่มีใบขออนุญาตโฆษณาอาหาร(ฆอ.) จำเป็นมาก!!

ผู้ประกอบการหลายท่านยังคงไม่เข้าใจว่าทำไมต้องขอฆอ. ในเมื่อเรามีใบรับรองจากอย. แล้ว ผมจะบอกให้ตรงนี้เลยครับว่า
การขอ ฆอ.เป็นเรื่องที่จำเป็นมาก ถ้าผลิตภัณฑ์ของคุณต้องถูกนำใส่ปากกิน  นอกจากใบรับรองต่างๆ ที่ได้จาก อย.
แล้วการขอใบอนุญาตโฆษณาอาหารฆอ. จะเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยให้การโฆษณาของคุณเป็นเรื่องที่ง่าย และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตราที่ 40 , 41, 42 ผู้ประกอบการสินค้าใดๆ ที่เกี่ยวกับอาหารและยา
ที่ต้องการจะโฆษณาคุณประโยชน์ หรือสรรพคุณสินค้า ต้องนำข้อความที่จะโฆษณาเหล่านั้นมาขออนุญาตก่อนครับ
เมื่อผ่านการพิจารณาจึงจะสามารถนำไปใช้ในการโฆษณาได้
การขอฆอ. คือการขออนุญาตโฆษณาผลิตภัณฑ์ของเราที่เป็นอาหารหรือยาลงบนสื่อต่างๆ เป็นใบรับรองว่าผลิตภัณฑ์ของเรา
ไม่ได้มีการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงแต่อย่างใด ทุกถ้อยคำบนโฆษณาสามารถเชื่อถือได้ เพราะทุกวันนี้มิจฉาชีพ
หรือพวกหลวกลวงจ้องแต่จะหาผลประโยชน์ให้ตัวเองมีเยอะ อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงบ้างล่ะ มโนส่วนประกอบปลอมๆ
บ้างล่ะ หนักสุดคือการผสมสารอันตราย แล้วจงใจปกปิดผู้ปริโภค แล้วผลกระทบไปตกอยู่ที่ใคร ก็ผู้บริโภคตาดำๆ
ที่หลงเชื่อคำโฆษณาที่ไม่มีการรับรองความจริง และผู้ประกอบการที่ทำมาหากินอย่างถูกต้องตามกระบวนการ
ก็ได้รับผลกระทบจากความไม่เชื่อใจของผู้บริโภคไปเต็มๆ ดังนั้นถ้าผลิตภัณฑ์ของเรามี “เลขอนุญาตโฆษณา”
ก็เป็นการแสดงความจริงใจต่อลูกค้าแล้วครับ  เพิ่มความมั่นใจให้ผู้บริโภคว่าทุกถ้อยคำ ที่โฆษณาผ่านการรับรอง
และตรวจสอบแล้วว่าเชื่อถือได้

แล้วเราสามารถโฆษณาโดยไม่ขอ ฆอ. ได้หรือไม่?

สำหรับผู้ประกอบการที่ทำผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องนำเข้าสู่ปาก ไม่จำเป็นต้องขอก็ได้ครับ แต่คุณต้องไม่ลืมจิตสำนึกของการเป็น
แม่ค้าที่ดีด้วย ว่าไม่ควรโฆษณาเกินจริง อย่าหลอกหลวงคนซื้อ  เพราะความจริงใจคือสิ่งสำคัญในการขายของทุกอย่าง
โฆษณาที่ไม่ต้องนำมายื่นขออนุญาต

  1. โฆษณาที่ไม่มีการกล่าวอ้างถึงสรรพคุณ คุณภาพ คุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์อาหาร หรือไม่มี การแสดงข้อมูลด้วยภาพ ข้อความ สัญลักษณ์ หรืออื่นใด ที่อาจเชื่อมโยงให้เข้าใจได้ว่า ผลิตภัณฑ์อาหารมี สรรพคุณ คุณภาพ คุณประโยชน์ของอาหารตามข้อมูลนั้นๆ
  1. การให้ข้อมูลทางวิชาการ ที่ไม่เชื่อมโยงให้เข้าใจได้ว่าเป็นสรรพคุณ คุณภาพ คุณประโยชน์ของ ผลิตภัณฑ์อาหารอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ทางการค้า
  1. การโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขาย เช่น การลด แลก แจก แถมของรางวัล ชิงโชค โดยไม่มีการแสดง สรรพคุณ คุณภาพ
    คุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์อาหาร

ส่วนใครที่ทำผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารและยา ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม หรือผลิตภัณฑ์ชา กาแฟ ต่างๆ ควรขอ  ครับ

เพราะอย่างที่รู้ๆ กันว่า สิ่งใดที่จะถูกนำเข้าปาก อย. จะให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ ขอฆอ. ไว้ ถือเป็นเรื่องที่ดีครับ
เพราะถ้าไม่ได้ขอแล้วทำการโฆษณาตามอำเภอใจ จะโดนโทษทั้งจำทั้งปรับ ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
มาตราที่ 70 , 71, 72 เลยนะครับ

การขอ ฆอ. ที่ผู้ประกอบการควรรู้

ใครที่อยากจะทำเนียนไม่ขอ  เพราะคิดว่าขอยาก จะปล่อยผ่านโฆษณาไปเรื่อยๆ เพราtคิดว่าคงไม่มีใครมาตรวจสอบ คิดใหม่ได้นะครับ เพราะการขอ  ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่กังวลกัน  ปัจจุบันนี้ก็มีเอเจนซี่หลายที่เปิดบริการรับขอฆอ. ให้อำนวย
ความสะดวกให้ผู้ประกอบการได้มากที่เดียวครับ และสำรับใครที่อยากจะยื่นเรื่องของ  ด้วยตนเองสามารถติดต่อขอได้ที่
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือดาวน์โหลดเอกสารได้ที่นี่  http://food.fda.moph.go.th/advertise.php  เลยครับ

แบบไหนถึงเรียกว่าอวดอ้างเกินจริง?

เคยสงสัยกันหรือเปล่าว่าทำไม โฆษณาบางตัวถึงมีคำต้องห้ามได้ ทั้งๆ ที่ผู้ประกอบการบางคนตบตีกับเฟสบุ๊คแทบตาย
แต่ก็ไม่สามารถทำโฆษณาได้ บางโฆษณาสามารถใช้คำว่า “ธรรมชาติ” “ปลอดภัย” “ไม่ใส่วัตถุกันเสีย” ทั้งๆ ที่คำเหล่านี้
ก็เข้าข่ายคำโฆษณาเกินจริงหรือเปล่า? นั้นเป็นเพราะว่า ผู้ประกอบการเหล่านั้นยื่นขอฆอ. ใช้คำเหล่านี้เป็นที่เรียบร้อย
แล้วนั้นเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ยังมีบางคำที่ไม่สามารถขอ ฆอ. ได้ เพราะถือว่าเป็นคำกล่าวอ้างเกินจริง ได้แก่
ยอด, ดีเลิศ,  เด็ดขาด,  อันดับ 1,  ศักดิ์สิทธิ์ , มหัศจรรย์,ที่สุด ,  สุดยอด , เยี่ยม ,  เยี่ยมยอด,  ยอดเยี่ยม, ดีที่สุด,
เลิศที่สุด, ชนะเลิศ,  เลิศเลอ ,  ดีเด็ด,  สุดเหวี่ยง,  วิเศษ, ฮีโร่,  บริสุทธิ์, ล้ำเลิศ, ชั้นเลิศ, เลิศล้ำ, เด็ด,
หนึ่งเดียว, พิเศษ,  ยอดไปเลย , โดดเด่น ,  ปาฏิหาริย์
คำเหล่านี้ ล้วนเป็นคำที่ให้ผลโฆษณาที่ดีมาก ผู้ประกอบการหลายๆ ท่านต่างหยิบยกมาใช้กัน แม้จะรู้ว่ามันเป็นคำอวดอ้าง
เกินจริงก็ตาม เพราะเหตูนี้ จึงต้องมี ออกมาเพื่อควบคุมการโฆษณาอาหารและยา ไม่ให้อวดอ้างเกินจริงจนส่งผลให้
ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิดได้

จากที่ได้เขียนมาทั้งหมด ผมขอสรุปให้เลยนะครับ สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์อาหารและยา ยื่นเรื่องขอฆอ.
ไว้กันดีกว่าครับ เพราะการโฆษณาต้องมาคู่กับการขายของอยู่แล้ว เพิ่มความมั่นใจให้ผู้บริโภคด้วยการแสดงเลขอนุญาต
โฆษณา เชื่อเถอะครับว่าการจำหน่ายสินค้าแบบสุจริตใจย่อมให้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่ายิ่งกว่า

 

 ติดตามเรื่องราวของการตลาดออนไลน์ได้ในช่องทางต่อไปนี้

เว็บไซต์https://adsidea.net
Facebook:  Adsidea ที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์สร้างยอดขายง่ายนิดเดียว
Line: http://line.me/ti/p/%40adsidea 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า