รีบคว้าก่อนจะโดนตัดหน้า! ใน ยุคที่ Data มีค่ามหาศาล

ยุคที่ Data มีค่ามหาศาล

ยุคที่ Data มีค่ามหาศาล

Hilights

  • เดือนพฤษภาคม 2563 พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวบุคคลจะเริ่มมีผลบังคับใช้ การเก็บข้อมูลของลูกค้าจะต้องได้รับการยินยอมจากลูกค้าก่อนเสมอ หากฝ่าฝืนจะได้รับโทษทางกฎหมายและเสียค่าปรับ
  • เจ้าของธุรกิจต้องให้ความสำคัญเรื่องการเอาข้อมูลของลูกค้ามาเปิดเผยมากขึ้น เพราะเป็นสิ่งที่ลูกค้าเริ่มให้ความสำคัญมากในปีนี้แบรนด์ไหนที่ไม่น่าไว้วางใจพวกเขาจะปัดพวกคุณทิ้งทันที
  • ข้อมูลเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สามารถสร้างรายได้ให้กับธุรกิจของพวกคุณได้ หากนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับแบรนด์ของคุณ

           “รู้เขารู้เรา”    ยังเป็นสุภาษิตที่ยังคงใช้ได้ในการทำการตลาดในปัจจุบันได้เป็นอย่างดีครับ   ยิ่งในยุคที่พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว   คนที่จะประสบความสำเร็จได้ในตอนนี้จะต้องเข้าใจและเรียนรู้ถึงพฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภคอย่างลึกซึ้งที่สุด พร้อมกับวางแผนการเดินทางในอนาคตให้ได้อย่างถูกต้องและเกิดการผิดพลาดให้น้อยที่สุดด้วยครับ

           ซึ่งในปีที่ผ่านมาแบรนด์ต่าง  ๆ   เริ่มนำข้อมูลของผู้บริโภคมาใช้ประโยชน์ในธุรกิจของตัวเองมากขึ้น   เพื่อเป็นการกระตุ้นในเรื่องของยอดขาย   และนำมาพัฒนาคุณภาพของแบรนด์ให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น และในปีนี้บอกได้เลยครับว่า  “Data”   จะยิ่งมีอิทธิพลอย่างมากและมีความซับซ้อนขึ้นอีกหลายเท่าเลยล่ะครับ อย่างที่ผมได้บอกไปว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และในฐานะที่เราเป็นเจ้าของธุรกิจจะทำอย่างไรกับข้อมูลที่อยู่ในมือเราและจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาพัฒนาแบรนด์ให้เข้าถึงเข้าใจลูกค้าได้อย่างไรวันนี้ผมมีคำตอบมาให้ทุกคนครับ

ยุคที่ Data มีค่ามหาศาล กำลังจะกลับมา

           อย่างที่ทุกคนรู้กันดีว่าข้อมูลเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดในการวางแผนเริ่มต้นธุรกิจ และในปีที่ผ่านมาหลายธุรกิจเริ่มมีการปรับตัวในการเอา  ดาต้า  หรือ  ข้อมูล   มาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ร้านค้าปลีกไปจนถึงธุรกิจใหญ่ ๆ   เช่น  Lazada Shopee   เป็นต้น   และในปีนี้เราจะได้เห็นการทำงานของคนน้อยลงและมีการเอานำระบบ   AI   หรือระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยงานมากขึ้น   เพราะข้อมูลบางอย่างยากเกินกว่าที่คนสามารถทำได้และพวกมันยังสามารถทำงานได้รวดเร็วและถูกต้องแม่นยำกว่า   แถมยังลดต้นทุนให้กับธุรกิจได้อีกมากเลยล่ะครับ

       ผมได้ไปอ่านเจอผลสำรวจของ  ร๊อบ เนเวล  รองประธานฝ่ายพัฒนาวิศวกรรมโซลูชั่น  เซลส์ฟอร์ซ  ภูมิภาคเอเชีย   ผลสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า   “State of the Connected Customer”   พบว่า  89%  ผู้บริโภคที่ไว้วางใจแบรนด์พวกเขาจะภักดีต่อแบรนด์  อีก  78%  จะภักดีต่อแบรนด์ที่แสดงความโปร่งใสในการใช้ข้อมูลของพวกเขา  และอีก  65%  พวกเขาจะหยุดซื้อหรือรับบริการจากธุรกิจ   หรือแบรนด์ที่พวกเขามองว่ามีการกระทำที่ไม่น่าไว้วางใจ  

          ผมจึงมองว่าในปีนี้สิ่งที่เจ้าของธุรกิจต้องใส่ใจอย่างเคร่งครัดคือ   ความซื่อตรง  โปร่งใสในแบรนด์ของตัวเองให้มากที่สุด   เพราะมันจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความไว้วางใจแบรนด์และเกิดความภักดีต่อแบรนด์ของคุณได้

          แต่ทั้งนี้สิ่งที่ธุรกิจควรทำอีกอย่างก็คือ   การจะนำข้อมูลของลูกค้ามาเปิดเผยนั้นต้องให้ลูกค้าเป็นผู้ตัดสินใจเองว่าพวกเขาต้องการจะเปิดเผยข้อมูลนั้นหรือไม่   สิ่งที่พวกคุณควรทำคือต้องอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจถึงนโยบายความปลอดภัยของบริษัท   เพื่อเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นว่าคุณจะรักษาข้อมูลความเป็นส่วนตัวของพวกเขาอย่างดี   และจะไม่แชร์ข้อมูลของพวกเขาหากยังไม่ได้รับอนุญาตนั่นเองครับ

          ตอนนี้ไม่ใช่แค่เราที่หันมาใส่ใจกับเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล   แต่ภาครัฐก็ยังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ด้วยเช่นกันครับ   เพราะในเดือนพฤษภาคม  2563  นี้   พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวบุคคลจะเริ่มมีผลบังคับใช้   การเก็บข้อมูลของลูกค้าจะต้องได้รับการยินยอมจากลูกค้าก่อนเสมอ   และต้องแจ้งถึงวัตถุประสงค์ของการนำข้อมูลไปใช้ด้วยว่าจะเอาไปทำอะไรบ้าง

          หากฝ่าฝืนไม่แจ้งให้ลูกค้าทราบก่อนจะได้รับโทษทางกฎหมายและมีค่าปรับ   นอกจากพวกคุณจะเสียทรัพย์แล้ว   ธุรกิจของคุณเองก็จะเสียความเชื่อมั่นและความไว้วางใจต่อลูกค้า   ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างความประทับใจต่อลูกค้าและรอยัลตี้ด้วยนะครับ

แนวทางพัฒนาแบรนด์ด้วย Data

          ทุกคนเคยได้ยินคำนี้กันไหมครับ   “ข้อมูลเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่า สามารถสร้างรายได้ให้ธุรกิจมหาศาล”   ใครที่มีข้อมูลของลูกค้ามาก ๆ   ถือว่าเป็นสิ่งที่จะทำให้เราได้เปรียบกว่าแบรนด์อื่นแน่ ๆ  ครับ   แต่ข้อมูลเหล่านั้นพวกคุณต้องเอามาใช้ให้เป็นด้วยนะครับ   ถึงจะเป็นประโยชน์และสามารถพัฒนาแบรนด์ของคุณได้   และข้อมูลที่ได้มานั้นพวกคุณจะเอาไปพัฒนาแบรนด์ได้อย่างไรบ้างนั้น   วันนี้ผมมีคำตอบให้ครับ

1.ทำโฆษณาได้อย่างถูกกลุ่มเป้าหมาย

          ยิ่งเรามีข้อมูลเยอะเท่าไหร่   เราก็จะสามารถคัดคนที่ใช่หรือไม่ใช่ออกไปได้   และมันจะทำให้เราทำโฆษณาได้ถูกกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นครับ   อย่างที่รู้กันดีครับว่า  การยิงโฆษณามัวแบบไม่สนว่ากลุ่มเป้าหมายเราคือใครสุดท้ายมันจะเสียงแรงและเสียประโยชน์เปล่า ๆ   ครับ   เพราะคุณมีเวลาแค่ไม่กี่เสี้ยววินาทีเท่านั้นที่คนจะเห็นโฆษณาของคุณ   และตัดสินใจว่าจะดูหรือไม่

          ดังนั้นการกำหนดกลุ่มเป้าหมายว่าใครคือลูกค้าที่ต้องการสินค้าหรือบริการของเราจริง ๆ   จึงเป็นสิ่งสำคัญ   ซึ่งข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากที่จะทำให้เราสามารถส่งโฆษณาหรือบริการของเราไปยังพวกเขาได้

2.เข้าใจขั้นตอนการตัดสินใจซื้อของลูกค้า

          การเข้าใจการเดินทางก่อนการตัดสินใจซื้อสินค้าของลูกค้าตั้งแต่ขั้นตอน   เหตุผลการซื้อ ไปจนถึงซื้อเมื่อไร   ราคาเท่าใด   ข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นมาก ๆ   เลยครับ   เพราะมันจะช่วยให้คุณสามารถเลือกช่องทางการตลาดในการเข้าถึงลูกค้าได้เหมาะสม   แถมยังเพิ่มโอกาสเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจคุณอีกด้วยครับ

ตัวอย่างเช่น

          ธุรกิจของนาย  A  ลูกค้าหาข้อมูลและตัดสินใจซื้อผ่าน  Facebook  เป็นหลัก  ส่วนธุรกิจของนาย  B  ลูกค้าหาข้อมูลและตัดสินใจซื้อผ่าน  IG  เป็นหลัก   จึงสามารถบอกได้ว่าทั้งสองธุรกิจจะต้องใช้กลยุทธ์การตลาดผ่านช่องทางที่ต่างกัน   จึงจะสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าของแบรนด์ตัวเองได้

          จะเห็นได้ว่าการนำข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของลูกค้ามาใช้จะช่วยให้พวกคุณทำการตลาดได้อย่างถูกจุด   และเข้าถึงลูกค้าได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมายได้นั้นเองครับ

3.เพิ่มยอดขายด้วยคอนเทนต์ที่ตรงจุด

          ยิ่งเรามีฐานข้อมูลเยอะเท่าไหร่   ก็จะทำให้เรารู้ว่าเรื่องไหนที่ลูกค้าของเราสนใจ   น้ำเสียงหรือคำพูดแบบไหนที่สามารถดึงดูดพวกเขาได้   และคอนเทนต์ประเภทไหนที่พวกเขาเห็นแล้วอยากจะซื้อ   ซึ่งแน่นอนครับว่า  เป้าหมายของนักธุรกิจทุกราย คือ “ยอดขาย”  ดังนั้นการสร้างคอนเทนต์ที่สามารถดึงดูดพวกเขาได้ ต้องมาจากข้อมูลความชอบของลูกค้าที่เรามีและหามาได้   ควรใช้ข้อมูลพวกนี้ให้เป็นและเกิดประโยชน์ที่สุด   ผมรับรองได้เลยครับว่า   ยอดขายถล่มทลายแน่นอน

4.กระตุ้นลูกค้าเก่าให้กลับมาซื้อซ้ำอีกครั้ง

          แน่นอนครับว่าคุณจะต้องมีข้อมูลการซื้อสินค้าของลูกค้าเก่าที่เคยซื้อสินค้าจากคุณไปแล้ว   จะดีกว่าไหมหากคุณเอาข้อมูลพวกนั้นดึงลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าของพวกคุณไปแล้วกลับมาซื้อซ้ำอีกครั้ง

ตัวอย่างเช่น

          บริษัทเครื่องสำอางส่งส่วนลดหรือโปรโมชั่นให้กับลูกค้าที่พึ่งซื้อสินค้าจากร้านไป   จูงใจให้ลูกค้าอยากกลับมาซื้อสินค้าอีกครั้ง   และแน่นอนว่าเมื่อพวกเขากลับมาซื้อคงไม่ใช่สินค้าแค่เพียงชิ้นสองชิ้นแน่นอน   พวกเขาอาจได้สินค้าแบบอื่นกลับไปเพิ่มด้วย  เช่น  ลิป แป้งพัฟ รองพื้น เป็นต้น   แบบนี้เขาเรียกว่าการตลาดแบบ  “ซื้อแล้ว  ซื้ออีก”  นั่นเองครับ

          ธุรกิจแต่ละธุรกิจล้วนมีข้อมูลลูกค้าเป็นของตัวเองอยู่แล้วครับ   มันอยู่ที่ว่าพวกคุณจะมองเห็นหรือนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์กับแบรนด์ของคุณได้มากแค่ไหน   ยิ่งมีข้อมูลมากและสามารถเอาข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ให้เป็นจะทำให้คุณได้เปรียบกว่าคนอื่นแน่นอนครับ แต่สิ่งที่พวกคุณจะลืมไม่ได้เลยคือ   การเปิดเผยข้อมูลหรือเอาข้อมูลของลูกค้ามาใช้ต้องได้รับการยินยอมจากลูกค้าก่อนนะครับ   อย่าเอามาใช้ถ้าพวกเขายังไม่อนุญาตไม่งั้นงานเข้าแน่ ๆ

          แนวทางที่ผมเสนอมาอาจจะเป็นเพียงไม่กี่แนวทางที่คุณสามารถทำได้   แต่สิ่งที่ผมอยากให้คุณสนใจมาก ๆ   คือ  การใช้  Data  ในการทำธุรกิจเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในปีนี้ ไม่ใช่ว่าการทำมาร์เก็ตติ้งหลายช่องทางจะไม่สำคัญ  แต่ทั้ง  data  และ  Marketing   จะต้องไปด้วยกัน   หากวันนี้คุณมุ่งเน้นแต่การทำการตลาดจนลืมใส่ใจเรื่องของ  การใช้ data  ผมว่าถึงเวลาแล้วครับที่นักการตลาดแบบเราจะต้องหันมาสนใจเรื่อง  Data  กันอย่างจริงจังก่อนที่จะเป็นเราเสียเองที่วิ่งตามคนอื่นเขาไม่ทัน

10 Marketing Trends ที่คุณต้องรู้สำหรับปี 2020

ติดตามเรื่องราวของการตลาดออนไลน์ได้ในช่องทางต่อไปนี้

Web site : https://www.adsidea.net

Facebook : Adsidea ที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ สร้างยอดขายง่ายนิดเดียว

Line : http://line.me/ti/p/%40adsidea            

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า